วันจักรี
ในทุกๆ
วันที่ 6
เมษายน
ของทุกปีนั้นถือเป็นสำคัญอีกวันหนึ่งของไทย
นั่นคือ วันจักรี
ซึ่งเป็นวันที่เราจะร่วมกันระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
รวมถึงมหาจักรีบรมราชวงศ์
วันนี้กระปุกดอทคอมจึงนำประวัติและความสำคัญของวันนี้มาฝากกันค่ะ
ประวัติการตั้งชื่อวันจักรี นั้นเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 6 เมษายน ปี พ.ศ. 2325 นั้นเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และยังทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทยอีกด้วย และยังเป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์จักรีซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ครองราชย์อยู่ในปัจจุบัน
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปของพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 พระองค์ ซึ่งก็คือรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 4 เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมาและพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงข้าราชการและประชาชน ได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเป็นธรรมเนียมปีละครั้ง
โดยได้มีการโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และได้มีการย้ายที่อีกหลายครั้งไม่ว่าจะเป็นพระพี่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาทหรือพระที่นั่งศิวาลัยปราสาท ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดให้ย้ายพระบรมรูปของทั้ง 4 พระองค์ มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 ซึ่งการซ่อมแซม ก่อสร้าง และประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาล มาแล้วเสร็จในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 จึงได้มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ 6 เมษายน ในปีนั้น และได้โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า "วันจักรี"
และทั้งหมดก็คือความเป็นมาของวันจักรี ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่วันหยุดราชการธรรมดาๆ แต่เป็นวันที่ประชาชนทุกคนควรระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ของไทยทุกพระองค์
ประวัติการตั้งชื่อวันจักรี นั้นเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 6 เมษายน ปี พ.ศ. 2325 นั้นเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และยังทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทยอีกด้วย และยังเป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์จักรีซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ครองราชย์อยู่ในปัจจุบัน
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปของพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 พระองค์ ซึ่งก็คือรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 4 เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมาและพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงข้าราชการและประชาชน ได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเป็นธรรมเนียมปีละครั้ง
โดยได้มีการโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และได้มีการย้ายที่อีกหลายครั้งไม่ว่าจะเป็นพระพี่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาทหรือพระที่นั่งศิวาลัยปราสาท ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดให้ย้ายพระบรมรูปของทั้ง 4 พระองค์ มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 ซึ่งการซ่อมแซม ก่อสร้าง และประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาล มาแล้วเสร็จในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 จึงได้มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ 6 เมษายน ในปีนั้น และได้โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า "วันจักรี"
และทั้งหมดก็คือความเป็นมาของวันจักรี ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่วันหยุดราชการธรรมดาๆ แต่เป็นวันที่ประชาชนทุกคนควรระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ของไทยทุกพระองค์
ตราราชวงศ์จักรี
และพระราชลัญจกร
ประจำพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่างๆ
ตราราชวงศ์จักรี
ตรารัชกาลที่ 1
“มหาอุณาโลม”
เป็นตรางาลักษณะกลมรูปปทุมอุณาโลม
มีอักขระ “อุ” อยู่ตรงกลาง(“อุ”
มีลักษณะ เป็นม้วนกลม
คล้ายลักษณะความหมายของพระนามเดิมว่า
“ด้วง”)ตรามหาอุณาโลมนี้
หมายถึงตาที่สามของพระอิศวร
ซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์ในการตั้งพระบรมราชจักรีวงศ์
ล้อมด้วยกลีบบัว
ซึ่งเป็นพฤกษชาติที่เป็นสิริมงคล
ทางพระพุทธศาสนา
ตรารัชกาลที่ 2
“ครุฑจับนาค”
เป็นตรางาลักษณะกลม
รูปครุฑจับนาค เนื่องจากพระนามเดิมคือ
“ฉิม” ซึ่งตามความหมายของวรรณคดีไทยเป็นที่อยู่ของพญาครุฑ
ตรารัชกาลที่ 3
“มหาปราสาท”
เป็นตรางาลักษณะกลม
รูปปราสาท เนื่องจากพระนามเดิมคือ
“ทับ” ซึ่งหมายถึงที่อยู่หรือเรือน
จึงโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างพระลัญจกรเป็นรูปปราสาท
ตรารัชกาลที่ 4
“พระมหาพิชัยมงกุฎ”
เป็นตรางา ลักษณะกลมรี
รูปพระมหามงกุฎ (ตามพระนามเดิมว่า
เจ้าฟ้ามงกุฎ)
อยู่ในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์
มีฉัตรปริวาร ๒ ข้าง มีพานทอง
๒ ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์
หรือ เพชรข้างหนึ่ง
(พระแว่นสุริยกานต์
หรือ เพชร หมายถึง พระฉายา
เมื่อทรงผนวชว่า วชิรญาณ)อีกข้างหนึ่ง
วางสมุดตำรา (หมายถึง
ทรงศึกษาเชี่ยวชาญในทางอักษรศาสตร์
และดาราศาสตร์)
ตรารัชกาลที่ 5
“พระจุลมงกุฎ
หรือพระเกี้ยว” เป็นตรางาลักษณะกลมรี
กว้าง ๕.๕
ซ.ม.
ยาว
๖.๘
ซ.ม.
มีรูปพระเกี้ยวยอดมีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง
๒ ชั้น (หมายถึงพระเกี้ยวเจ้าฟ้าในคราวโสกัณฑ์)
เคียงด้วยฉัตรปริวาร
๒ ข้าง ที่ริมขอบทั้ง ๒ ข้าง
มีพานทอง ๒ ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์
หรือเพชรข้างหนึ่งอีกข้างหนึ่ง
วางสมุดตำรา(เป็นการเจริญรอยจำลอง
พระราชลัญจกร ของรัชกาลที่
๔)
ตรารัชกาลที่ 6
“มหาวชิราวุธ”
เป็นตรางาลักษณะกลมรี
กว้าง ๕.๕
ซ.ม.
ยาว
๖.๘
ซ.ม.
รูปวชิราวุธ
มีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง
๒ ชั้น ตั้งอยู่เหนือตั่ง
มีฉัตรปริวาร ๒ ข้าง
(รูปตรานี้ใช้ตามพระนามของพระองค์
คือ วชิราวุธ
ซึ่งหมายความถึงศัตราวุธของพระอินทร์) ตราพระราชลัญจกรนี้
สร้างขึ้นสำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย
ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์
ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน
ตรารัชกาลที่ 7
“พระไตรศร”
เป็นตรางา ลักษณะกลมรี กว้าง
๕.๔
ซม.
ยาว
๖.๗
ซม.
รูปราวพาดพระแสงศร
๓ องค์คือ
พระแสงศรพรหมศาสตร์,
พระแสงศรอัคนีวาต
และพระแสงศรประลัยวาต(เป็นศรของพระพรหม,
พระนารายณ์
และของพระอิศวร
ซึ่งใช้ตามความหมายของพระนามเดิมคือ
“ประชาธิปกศักดิเดชน์” คำว่า
“เดชน์” แปลว่า “ลูกศร”)
เบื้องบนมีรูปพระแสงจักรและพระแสงตรีศูร
อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ
มีบังแทรกตั้งอยู่ ๒ ข้าง
มีลายกนกแทรกอยู่ระหว่างพื้นตราพระราชลัญจกรนี้
สร้างขึ้นสำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย
ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์
ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน
ตรารัชกาลที่ 8
“รูปพระโพธิสัตว์”
เป็นตรางาลักษณะกลมศูนย์กลางกว้าง
๗ ซ.ม.
รูปพระโพธิสัตว์ประทับบนบัลลังก์ดอกบัวห้อยพระบาทขวาเหยียบบัวบาน
หมายถึงแผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม
มีเรือนแก้วด้านหลังแท่นรัศมี
มีแท่น
รองรับตั้งฉัตร บริวาร ๒ ข้าง (รูปพระโพธิสัตว์นี้เดิมเป็นตราประจำในพระราชวังดุสิต) เป็นสัญลักษณ์ปรมาภิไธยว่า อานันทมหิดล แปลความหมายว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดินตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นสำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน
รองรับตั้งฉัตร บริวาร ๒ ข้าง (รูปพระโพธิสัตว์นี้เดิมเป็นตราประจำในพระราชวังดุสิต) เป็นสัญลักษณ์ปรมาภิไธยว่า อานันทมหิดล แปลความหมายว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดินตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นสำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน
ตรารัชกาลที่ 9
“พระแท่นอัฏทิศ
อุทุมพรราชอาสน์” เป็นตรางา
ลักษณะรูปไข่ กว้าง ๕ ซ.ม.
สูง
๖.๗
ซ.ม.รูปพระที่นั่งอัฎทิศ
ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระ
“อุ” รอบๆ
มีรัศมี(วันบรมราชาภิเษกได้เสด็จได้เสด็จประทับที่นั่งอัฎทิศ) แปลความหมายว่า
ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดินตราพระราชลัญจกรนี้
สร้างขึ้นเมื่อวันบรมราชาภิเษก
สำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย
ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์
ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น