วันเด็กแห่งชาติ
ประวัติวันเด็กแห่งชาติ
ย้อนไป
พ.ศ.2498
ได้เกิดปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัวและเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็กๆของตนมากขึ้น
การขานรับเป็นไปอย่างกว้างขวาง
ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า
40
ประเทศ
จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้นโดยกำหนดกันว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี
เป็นวันเด็กแห่งชาติ
สำหรับประเทศไทย รับข้อเสนอของนายวี
เอ็ม
กุลกานีผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ
ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์
กระทรวงมหาดไทยว่าไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติิเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กให้มากขึ้น
ดังที่นานาประเทศกำลังทำอยู่คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาตินำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมในที่สุดที่ได้รับมติเห็นชอบนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
ในต่อมาวันที่ 27
กรกฎาคม
พ.ศ.2498คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย
และกระทรวงศึกษาธิการ
รับไปดำเนินการส่วนค่าใช้จ่ายในการจัดงานได้อนุมัติเงินจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ3
ตุลาคม
พ.ศ.2498
คือวันเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย
จากนั้นเป็นต้นมาราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ
จัดติดต่อกันมาจนถึงปี 2506
ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้นมีความเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่
เพื่อความเหมาะสม
ด้วยเหตุผลว่าเดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทย
เป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน
มีฝนตกมาก เด็กๆไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน
นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครองจึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้
ทั้งการจราจรก็ติดขัดจึงเห็นว่าควรจะเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมเสียทุกสิ่งทุกอย่าง
ได้สะดวกสบายขึ้นและมีความเหมาะสมมากกว่าคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
ตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา
ลงวันที่ 5
กุมภาพันธ์
2507จึงประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ
จากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม
เป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม
ด้วยเหตุนี้ปี 2507
จึงไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว
งานวันเด็กแห่งชาติเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี
2508
เรื่อยมาถึงปัจจุบัน
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้คือ
เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก
สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก
และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ
เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนและอยู่ในระเบียบวินัยอันดีและเพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากล
ว่าด้วยสิทธิของเด็ก
คำขวัญวันเด็ก
เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย
เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี
โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก
เมื่อ พ.ศ.
2499 ในสมัยที่จอมพล
ป.พิบูลสงคราม
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
และตั้งแต่ พ.ศ.
2502 จอมพล
สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก
จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็ก
ปีละ 1
คำขวัญ
(ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ)
นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา
จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
คำขวัญวันเด็ก
เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย
เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี
โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก
เมื่อ พ.ศ.
2499 ในสมัยที่จอมพล
ป.
พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
และตั้งแต่ พ.ศ.
2502 จอมพล
สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ได้มอบคำขวัญวันเด็กให้
จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
คำขวัญวันเด็ก ปี พ.ศ.
2556 คือ
“ รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้
เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน
” แต่งโดย นางสาวยิ่งลักษณ์
ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน
แหล่งที่มา
-
http://special.obec.go.th/entertainment_newspaper/
history_childs'day.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น