วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันรัฐธรรมนูญ

วันรัฐธรรมนูญ

      เวียนบรรจบครบอีกครั้ง กับวันสำคัญทางการเมืองของประเทศไทย วันที่ประชาชนชาวไทยมีความภาคภูมิใจ บนเอกราชและอนาธิปไตยของประเทศ วันที่สยามประเทศ มีกฎหมายที่เป็นหลักยึดในการปกครองบ้านเมือง อย่างเป็นทางการ เทียบเท่าอารยประเทศ วันที่ว่านั่นก็คือ วันรัฐธรรมนูญ ซึ่งปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2554 และนับเป็นอีกหนึ่งวันหยุดยาวที่หลายๆคนตั้งตารอคอย และในปีนี้ยังมีวันหยุดชดเชยต่อเนื่องยาวถึง 3 วันกันเลยทีเดียว นอกจากจะได้หยุดเรียน หยุดงาน อยู่บ้าน หรือไปเที่ยวกันแล้ว ก็ต้องตระหนักถึงความสำคัญและที่มาของวันหยุดนี้
      เป็นวันที่ระลึกคล้ายวันที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนชาวไทย
 

ประวัติความเป็นมา

     การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
     1. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
     2.
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ซึ่งได้ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยการปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการเป็นอย่างมาก
     3.
อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
     4.
รัฐบาลได้ออกกฎหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร
  
     จากสาเหตุดังกล่าว ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ
     วันที่ 27 มิถุนายน พ.. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
   1.
พระมหากษัตริย์
   2.
สภาผู้แทนราษฎร
   3.
คณะกรรมการราษฎร
   4.
ศาล
     ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม
     กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.. 2475 พระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ..๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
     รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
     รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้

   1.
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุนายน - 10 ธันวาคม 2475)

   2.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย

   3.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

   4.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9พฤศจิกายน 2490 - 23มีนาคม 2492)

   5.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23มีนาคม 2492 - 29พฤศจิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

   6.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8มีนาคม 2495 - 20ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

   7.
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28มกราคม 2502 - 20มิถุนายน 2511)

   8.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20มิถุนายน 2511 - 17พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

   9.
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25ธันวาคม 2515 - 7ตุลาคม 2517)

   10.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7ตุลาคม 2517 - 6ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

   11.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22ตุลาคม 2519 - 20ตุลาคม 2520)

   12.
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9พฤศจิกายน 2520 - 22ธันวาคม 2521)

   13.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22ธันวาคม 2521 - 23กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช.

   14.
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1มีนาคม - 9ตุลาคม 2534)

   15.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9ธันวาคม 2534 - 11ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
   16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540ฉบับประชาชน (11ตุลาคม 2540 - 19กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขคปค.

   17.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1ตุลาคม 2549 - 24สิงหาคม 2550)

   18.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24สิงหาคม 2550 - ปัจจุบัน)
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ฉบับปัจจุบัน)
 
     รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในปี 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19กันยายน พ.. 2549ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ" (คมช.) โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24สิงหาคม พ.. 2550และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
     โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว มีการเผยแพร่ให้ประชาชนได้ลงประชามติว่าจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ในวันที่ 19สิงหาคม พ.. 2550ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81เห็นชอบ และร้อยละ 42.19ไม่เห็นชอบ

     อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการเผชิญหน้าทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ และฝ่ายที่ต่อต้าน รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นขั้นตอนการร่าง เช่น ประชานไม่ได้มีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ การที่ คมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. และในเนื้อหาสาระของร่างก็มีประเด็น เช่น มีการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่งของจำนวนมาจากการแต่งตั้ง รวมถึงการนิรโทษกรรม คมช. เองสำหรับการก่อรัฐประหาร เป็นต้น

     ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกแก้ไขสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.. 2554โดยมีประเด็นที่แก้ไขคือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1มาตรา 93-98) และข้อกำหนดในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2มาตรา 190)
     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550มีทั้งหมด 309หมวด โดยมีเนื้อหาสาระตามหมวดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

คำปรารภ

   หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1-7)

   หมวด 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8-25)

   หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 26-69)

   หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 70-74)

   หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 75-87)

   หมวด 6 รัฐสภา (มาตรา 88-162)

   หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163-165)

   หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166-170)

   หมวด 9 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 171-196)

   หมวด 10 ศาล (มาตรา 197-228)

   หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 229-258)

   หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา 259-278)

   หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 279-280)

   หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281-290)

   หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 291)

   บทเฉพาะกาล (มาตรา 292-309)
 
กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ
     การจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7และจะมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน

     การจัดงาน "เด็กไทย รักรัฐสภา" พร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ

 
แหล่งที่มา
 
     http://www.enn.co.th/1633




 




 


วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันพ่อแห่งชาติ


วันพ่อแห่งชาติ
 


ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
 
          ใกล้จะถึงวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคมนี้แล้วนะคะ หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักวันพ่อแห่งชาติดีเท่าที่ควร วันนี้ศูนย์ข่าวการศึกษาไทยจึงอยากให้ทุกคนได้รู้จักวันพ่อแห่งชาติลึกซึ้งมากขึ้นค่ะ
จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2525 หน้า 587) .. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน ในทางพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น บิดา (พ่อ) ชนก (ผู้ให้กำเนิด) สามี (ของแม่) เป็นต้น
 
       วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย
        
วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือวันพ่อแห่งชาติ มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์เป็นผู้ถวายการประสูติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการจำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่ พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” อันคำว่าโดย “ธรรม” นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า “ราชธรรม 10 ประการ”
       
ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฏิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ ห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้
  
กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันพ่อแห่งชาติ
 
     1. ในวันพ่อแห่งชาติเราควรประดับธงชาติไทยที่อาคารบ้านเรือน
     2. จัดพิธีศาสนสงฆ์ เช่น การทำบุญตักบาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯถวายพระพรชัยมงคลจัด
      3. กิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
 
 
วันพ่อแห่งชาติเกิดขึ้นได้อย่างไร
       วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และให้ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ
       ด้วยพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณ มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพ เทิดทูน และตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อนี่เป็นที่มาของการจัดให้มี วันพ่อแห่งชาติ
 
วัตถุประสงค์ของวันพ่อแห่งชาติ 4 ประการ คือ
 
    1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    2.
เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
    3.
เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ
    4.
เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน
ดอกไม้ประจำวันพ่อแห่งชาติ
 
       ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ “พุทธรักษา” ซึ่งหมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครอง ให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ซึ่งมีเรียกกันมากว่า 200 ปี และสีเหลืองอันเป็นสีประจำวัน พระราชสมภพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อ จึงเสมือนกับการบอกถึง ความรักและเคารพบูชาพ่อ ผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว
       คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย
บทบาทของพ่อ

       พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรุปบทบาทหน้าที่ของพ่อและแม่ไว้ 5 ข้อ
 1.
กันลูกออกจากความชั่ว
 2.
ปลูกฝังลูกไว้ในทางที่ดี
 3.
ให้ลูกได้รับการศึกษาเล่าเรียน
 4.
ให้ลูกได้แต่งงานกับคนดี
 5.
มอบทรัพย์มรดกให้เมื่อถึงการณ์อันควร
 
 

แหล่งที่มา